ห้องเรียนวิชาโปรแกรมสำนักงาน ชั้น ม.1
และผู้สนใจ

 ห้องเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้น ม.1
และผู้สนใจ

 ห้องเรียนวิชาออกแบบ Infographic  ฯ
ชั้น ม.2 ละผู้สนใจ

ห้องเรียนวิชาออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจ
ชั้น ม.3 และผู้สนใจ

8 แอปพลิเคชัน สำหรับเด็กๆ ที่อยากเรียนรู้เรื่องการเขียนโค้ด คุณภาพ ฟรี

     ถ้าเด็กๆกำลังมองหาเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันสำหรับเรียนรู้เรื่องการเขียนโค้ด ครูวิท.ไทย ได้รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน 8 รายชื่อที่มีคุณภาพฟรีสำหรับเด็กๆหรือผู้ที่สนใจได้เข้าไปเรียนรู้ครับ

ขอบคุณที่มา : https://childhood101.com/free-coding-kids/

Format: ออนไลน์, เกม   Ages: 5 ปีขึ้นไป    Cost: ฟรี

เป็นแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุม เหมาะสำหรับการเรียนรู้การเขียนโค้ดในห้องเรียนหรือที่บ้าน


Format: ออนไลน์   Ages: 8 ปีขึ้นไป Cost: ฟรี

Blockly เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่สร้างขึ้นสำหรับเด็กที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาก่อน


Format: บทเรียนออนไลน์   Ages: 6 ปีขึ้นไป Cost: ฟรี

ออกแบบมาเพื่อใช้กับนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาจนถึงมัธยมปลาย Code for Life สอนทุกอย่างตั้งแต่หลักการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานไปจนถึงการเขียนโค้ดผ่านการเล่นเกม

Format: ออนไลน์, แอพ   Ages: 8-16 ปี    Cost: ฟรี

เด็กๆ สามารถเขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบ เกม และแอนิเมชั่น โดยใช้การเขียนโปรแกรมแบบบล็อก และแบ่งปันผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขากับคนอื่นๆ ได้ในรูปแบบออนไลน์

Format: ออนไลน์ เรียนรู้การเขียนโค้ดผ่านการเล่นเกม
Ages: 8 ปีขึ้นไป    Cost: ฟรี

เป็นแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุม เหมาะสำหรับการเรียนรู้การเขียนโค้ดในห้องเรียนหรือที่บ้าน


Format: บทเรียนออนไลน์   Ages: 8 ปีขึ้นไป Cost: ฟรี

สอนการเขียนโปรแกรม Javascript ให้กับเด็กๆ ผ่านบทเรียนโต้ตอบที่สนุกสนานกับสัตว์ประหลาดสีน้ำเงินแสนน่ารัก 59 บทเรียน



Format: บทเรียนออนไลน์   Ages: 9 ปีขึ้นไป Cost: ฟรี

นำเสนอสตรีมคำแนะนำที่ชัดเจนสำหรับเด็กๆ ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ด บทเรียนเหมาะสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ภาษา JavaScript


Format: ออนไลน์, เกม   Ages: 11 ปีขึ้นไป  Cost: ฟรี

CodinGame ช่วยให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พัฒนาทักษะการเขียนโค้ดที่มีอยู่ โดยการเขียนโค้ดในภาษาต่างๆ เช่น C++, HTML, Java, Python, Ruby และ Swift ในการเล่นเกม



4 แอปพลิเคชัน ช่วยให้คุณครูประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

     ไม่ว่าจะยุคไหน ๆ การประเมินผลก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนการสอน เพราะทำให้เราสามารถประเมินได้ว่าผู้เรียนกำลังอยู่ในจุดใด ตรวจสอบได้ว่าการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้น ๆ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด และทำให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาการสอนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันก็มีแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาเกิดขึ้นมากมาย และมีแอปพลิเคชันสำหรับประเมินผลการเรียนสำหรับครูโดยเฉพาะ โดยแต่ละแอปพลิเคชันก็มีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ครูวิท.ไทย ได้เลือก 4 แอปพลิเคชันที่จะมาช่วยคุณครูประเมิน สมรรถนะของผู้เรียน ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพมาแนะนำทุกคนกันครับ

ขอบคุณที่มา : https://www.starfishlabz.com/

เชื่อว่าหลายคนอาจจะรู้จักกันดี เพราะถูกนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้และสันทนาการในหลาย ๆ ห้องเรียน Kahoot! เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้การทดสอบแบบควิซ (Quiz) โดยถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนกับการเล่นเกม โดย Kahoot! นั้น สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือ แอปประเมินสำหรับครู โดยสามารถสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เกิดการแข่งขันอย่างสนุกสนานได้ เหมาะสำหรับชั้นเรียนแบบผสมผสานที่ใช้ทั้งการเรียนรู้แบบดิจิทัลและในห้องเรียน 

Plickers 

Plickers เป็น แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา ที่ครูหลายล้านคนทั่วโลกใช้เพื่อประเมินและรวบรวมผลของนักเรียน เก็บข้อมูลนักเรียน หรือใช้เป็นกิจกรรมเกมสำหรับการเรียนการสอน  ในห้องเรียนก็ได้เช่นกัน Plickers ยังสนับสนุนการทำกิจกรรมแบบ Active Learning เพราะสามารถประยุกต์การใช้งานในห้องเรียนได้อย่างหลากหลาย เช่น การเช็คชื่อหน้าชั้นเรียน แบบสอบถาม โพลล์ หรือเกม เป็นต้น 

Quizizz 

Quizizz เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ ที่มีเครื่องมือมากมายที่จะทำให้ห้องเรียนสนุกสนาน มีการโต้ตอบ และมีส่วนร่วมของผู้เรียน เหมาะสำหรับการนำมาประยุกต์ใช้ กับการทำข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกม เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนได้ 

Google Form 

Google form เป็นแอปพลิเคชันของ Google โดยเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาใช้สำหรับสร้างแบบสำรวจและแบบทดสอบออนไลน์ ที่ใช้งานง่ายและเป็นที่นิยม ทุกคนสามารถเข้าไปสร้าง และออกแบบแบบฟอร์มหรือข้อมูลแบบทดสอบของตัวเองได้ โดยมี Functions ให้การตอบให้เลือกหลากหลาย ได้แก่ การตอบแบบอัตนัย ปรนัย หรือ การเลือกหลายคำตอบ และยังสามารถเผยแพร่และส่งต่อได้ผ่าน link และจัดเก็บข้อมูลอยู่บน Clouds 

       Active Learning : การศึกษาที่เปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียนได้จริง

       การจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน คุณครูทุกท่านคงเคยได้ยินและหนีไม่พ้นกับคำว่า Active Learning ซึ่งหลายๆ ท่านคงบอกว่า "ารเป็นครูก็ว่ายากแล้ว แตการเป็นครูแบบ Active Learning นั้นยากกว่า" วันนี้ครูวิทจะมานำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning  อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ Active Learning กันก่อนครับ
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ผู้เรียนต้องอ่าน เขียน ตั้งคำถามและถาม อภิปรายร่วมกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง โดยต้องคำนึงถึงความรู้เดิมและความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562)

เมื่อเราเข้าใจความหมายและรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning ันแล้ว ครูวิทจะมาแนะนำคลิปวิดีโอแนะนำโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน ที่จะทำให้ชั้นเรียนของเรา Active แบบสุดๆกันครับ

ห้องเรียนแตก เด็กรักเรียนด้วย Kahoot

สร้างสื่อการสอนแบบ Active Learning ด้วย Quizizz

สร้างใบงาน Interactive Worksheet ด้วย Liveworksheets


สร้างสื่อการสอนด้วย Wordwall

สร้างเกมตอบคำถามสุดสนุกด้วย Educandy

วงล้อหมุนเสี่ยงทาย สุ่มเรียกชื่อเด็ก ง่ายๆเพียงแค่นับ 123

สร้างกระดานแบบอัจฉริยะออนไลน์ง่าย ๆ เหมือนนับ 1, 2, 3, 4

ระดมความคิดเห็นในห้องเรียนด้วย Mentimeter