หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic)
หลักการออกแบบอินโฟกราฟิก คือ การนำข้อมูลมาเสนอใสรูปแบบต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ ภาพสามารถเล่าเรื่องได้ มีองค์ประกอบสำคัญ โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ให้เพียงพอ แล้วสรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง ทำให้ภาพนั้นมีความน่าสนใจและดึงดูดสายตาของผู้ชมได้ เป็นการลดเวลาในการอธิบายโดยใช้ภาพเป็นส่วนประกอบ
1. เน้นที่หัวข้อหลักหัวข้อเดียว (Focus on a single topic)
พิจารณาหัวข้อหลักในการสร้างอินโฟกราฟิก หลังจากกำหนดหัวข้อแล้ว กำหนดคำถามเฉพาะที่ต้องการคำตอบในอินโฟกราฟิก
2. ออกแบบให้เข้าใจง่าย (Keep it simple)
ข้อมูลไม่อัดแน่นซับซ้อนสับสน เข้าใจได้ง่าย ไม่ทำ ให้ผู้อ่านและผู้ชมยุ่งยาก ภาพที่ซับซ้อนจะทำให้การตีความผิดพลาด
3. ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ (Data is important)
การสร้างอินโฟกราฟิกต้องคำนึงถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับหัวข้อเป็นสำคัญ การออกแบบต้องไม่ทำ เกินขอบเขตของหัวข้อซึ่งจะเป็นการทำลายข้อมูลที่จำเป็น ต้องแน่ใจว่าการออกแบบเน้นที่ข้อมูลและรูปแบบของอินโฟกราฟิก
4. แน่ใจว่าข้อเท็จจริงถูกต้อง (Be sure facts are correct)
การทำข้อมูลให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่ถูกต้องจะลดความน่าเชื่อถือของอินโฟกราฟิก ดังนั้น ก่อนที่จะสร้างอินโฟกราฟิกต้องแน่ใจว่าข้อมูลถูกต้อง ศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
5. ให้อินโฟกราฟิกเป็นตัวเล่าเรื่อง (Let it tell a story)
อินโฟกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสามารถเล่าเรื่องราวด้วยภาพวาดหรือกราฟิก ซึ่งสามารถสามารถถ่ายทอดข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าผู้ชมจะไม่ได้อ่านข้อมูลมาก่อน
6. การออกแบบที่ดีทำ ให้มีประสิทธิภาพ (Good design is effective)
การบรรยายด้วยภาพถ้ามีการออกแบบที่ดีจะดึงดูดใจผู้ชม ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบให้น่าสนใจ ภาพ กราฟิก สี ชนิด แบบ และช่องว่าง เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ
7. ใช้สีที่ดึงดูดความสนใจ (Choose attractive colors)
ควรเลือกใช้สีที่กระตุ้นดึงดูดความสนใจผู้ชม ใช้สีให้ถูกต้องเหมาะสมกับหัวข้อ กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ใช้สี 2 – 4 สี
8. ใช้คำพูดที่กระชับ (Use short texts)
สรุปข้อความให้สั้นกระชับตรงกับจุดหมายที่ต้องการนำเสนอ อาจใช้แผ่นป้ายหรือข้อมูลสั้นๆ มาสนับสนุนภาพ การทำ เรื่องราวให้ดึงดูดความสนใจอาจใช้ตัวเลขมาสรุปเปรียบเทียบข้อมูล และควรใช้ตัวหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย
9. ตรวจสอบตัวเลขข้อมูล Check your numbers)
การนำเสนอข้อมูลด้วยตัวเลขผ่านกราฟและแผนผัง ต้องตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขและภาพวาด และต้องรู้ว่าตัวเลขไหนควรใช้และไม่ควรมีอยู่ ด้วยวิธีนี้จะทำ ให้อินโฟกราฟิกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น
10. ทำไฟล์อินโฟกราฟิกให้เล็ก (Make the file size small)
ทำไฟล์อินโฟกราฟิกให้เล็ก แต่ไม่ควรลดคุณภาพของรูปภาพควรใช้ไฟล์ เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงและดาวน์โหลดข้อมูลได้ง่าย และนำไปใช้ต่อได้ดี ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
การใช้เทคนิค 9 Layout ในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic)
การทำ Infographic ที่ดี ต้องรู้จักข้อมูลของตัวเองให้ดี และมีศิลปะในการนำเสนอ ไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกอย่างจะสามารถนำเสนอแบบเดียวกันได้ วันนี้เราจะมาดูการจัดวางทั้ง 9 แบบ ว่าแต่ละแบบเหมาะกับข้อมูลแบบไหน ทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ และเป็น Infographic ที่อ่านได้เข้าใจง่ายอย่างแท้จริง
1. Visualised Article - แปลงงานเขียนให้เป็นภาพ
เป็นการนำบทความหรือเรื่องเล่ามาแปลงเป็นภาพ สามารถใส่ได้ทั้งตัวอักษรและรูป หรือถ้าไม่ใส่รูป ก็สามารถใส่เป็นตัวเลขกราฟได้แทน เหมาะกับข้อมูลทั่ว ๆ ไปเชิงให้ความรู้
2. Listed - เล่าเป็นข้อๆในหัวเรื่องเดียว
มักใช้กับเรื่องที่มีหัวข้อเป็นตัวเลข เช่น 5 เทคนิคการทำงานใน Ai ให้มีมิติ, 4 ข้อห้ามที่ไม่ควรทำในการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น โดยจะมีหัวข้อใหญ่ และมีข้อย่อยเป็นข้อมูล ที่แต่ละข้อจะจบในตัวเอง
3. Comparison - ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบความต่าง
ใช้กับข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อดี-ข้อเสีย, สิ่งที่ควรทำ-ไม่ควรทำ, พฤติกรรมจากการทำบางสิ่ง-ไม่ทำบางสิ่ง เป็นต้น ก็จะเห็นความต่างและรายละเอียดของการทำสิ่งนั้น ๆ ด้วย
4. Structure - แสดงส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
เป็นการเล่าถึงผลิตภัณฑ์บางอย่าง เพื่อการขาย หรือเพื่อแสดงให้เห็นจุดเด่น โดยบอกเป็นข้อ ๆ หรือการแสดงภาพภายในของผลิตภัณฑ์ให้ล้อกับข้อมูล หรือการแสดงส่วนประกอบแบบแยกส่วน ให้เห็นได้ชัดและเห็นภาพมากขึ้น
5. Timeline - เล่าเรื่องตามระยะเวลา
ใช้กับการเล่าประวัติบุคคล บริษัท ประวัติศาสตร์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลาและการเปลี่ยนแปลง โดยจะเป็นเส้นตรง แสดงข้อมูลตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ใส่ปีหรือชื่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงให้เห็นว่าสิ่งใดเกิดก่อนหรือหลัง รวมถึงสามารถใส่จุดและใส่ระยะห่างของจุดเพื่อแสดงระยะเวลาที่ห่างกันของแต่ละเหตุการณ์ได้
6. Flowchart - บอกผลลัพธ์ลำดับขั้น
ใช้มากกับการทำงานเชิงตรรกะ หรือการแสดงให้เห็นการตัดสินใจกระทำบางอย่างแล้วจะเกิดผลอย่างไร เช่น การสร้างควิซเล่น หรือการสร้างขั้นตอนการสร้างโปรแกรม เป็นต้น
7. Roadmap - เล่าขั้นตอนการทำงาน
ใช้กับการอธิบายขั้นตอนของผลิตภัณฑ์หรือการเกิดเหตุการณ์บางอย่าง เช่น การเกิดภาวะโลกร้อน ขั้นตอนการรีไซเคิลขยะ เป็นต้น โดยเน้นแสดงขั้นตอนให้เข้าใจง่าย และแต่ละขั้นตอนต้องน่าสนใจและแตกต่างกัน
8. Useful - บอกข้อมูลบางอย่างให้นำไปใช้ได้ทันที
เป็นข้อมูลวงกว้างคล้าย ๆ กับ Visualised Article แต่จะเน้นให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย กลุ่มต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องต่อกัน อาจจะเชื่อมเนื้อหากันบางอย่างได้ ข้อมูลเป็นข้อมูลทั่วไปเน้นอ่านแล้วเข้าใจได้เร็ว
9. Numberporn - แปลงข้อมูลตัวเลขออกมาเป็นกราฟ
เป็นข้อมูลเชิงตัวเลข สถิติ การคำนวณที่มีค่าต่าง ๆ เป็นจำนวน ให้นำตัวเลขพวกนี้มาทำเป็นกราฟ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิวงกลม หรือแผนภูมิแท่งก็ตาม ทำให้ค่าต่าง ๆ เห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนมากขึ้น และควรที่จะใช้ดีไซน์ของไอคอนให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น กราฟ 3D, กราฟ 2D เป็นต้น
ทฤษฎีสี (Color)
ในการออกแบบอินโฟกราฟิกให้น่าสนใจ จำเป็นต้องเลือกใช้จิตวิทยาสี (Color Psycho) เนื่องจาก สี มีอิทธิพล และส่งผลต่อความรู้สึก ช่วยดึงดูดความสนใจ ควรเลือกสีที่เหมาะสมกับเรื่องที่ต้องการจะสื่อสาร และไม่ควรใช้สีเกิน 4 สี
Adobe Color เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เฉดสี โดยฟังก์ชันในการใช้งานมีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. การสร้างชุดสีจากวงล้อสี
2. การเลือกชุดสีจากเมนู Explore
3. การสร้างชุดสีจากภาพ
Adobe Color เป็นเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์เฉดสีเพื่อให้สี โดยที่สามารถเลือกเฉดสีหลักได้เอง และโปรแกรมจะช่วยวิเคราะห์เฉดสีที่เหลือให้เหมาะสมกับสีหลักที่เลือกซึ่ง Adobe Color มีฟังก์ชันในการใช้งานมีอยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ
1. การสร้างชุดสีจากวงล้อสี
บนเว็บไซต์จะปรากฎในส่วนของการเลือกใช้สีจากวงล้อสี สามารถคลิกเมาส์ไปที่วงกลมสี ในวงกลมสีขาวตามภาพตัวอย่าง แล้วเลื่อนไปยังสีที่ต้องการ วงกลมสีอีก 4 สีที่เหลือก็จะเลื่อนไปยังสีใหม่ที่เข้ากับสีที่เลือกในตอนแรก ส่วนเมนูทางด้านซ้ายมือเป็นฟังก์ชันที่คุณสามารถเลือกสีตามหลักการใช้สีแบบต่าง ๆ ได้ เช่น Monochromatic คือการเลือกสีเฉพาะที่อยู่ในโทนเดียวกัน หรือ Complementary คือการเลือกใช้สีคู่ตรงข้าม เป็นต้น
2. การเลือกชุดสีจากเมนู Explore
เมนู Explore เป็นฟังก์ชัน ซึ่งเป็นชุดสีที่มีคนสร้างเอาไว้ให้เลือกอยู่แล้ว โดยเราสามารถเข้าไปเลือกได้ตามต้องการ ตามอารมณ์การสื่อความหมาย เช่น หากต้องการชุดสีที่สื่อถึง modern technology ก็สามารถพิมพ์ Keyword ลงไปในช่องค้นหาเพียงเท่านี้ทางเว็บไซต์ก็จะนำเสนอชุดสีที่สื่อถึง modern technology ขึ้นมามากมายให้เราเลือกนำไปใช้งาน
3. การสร้างชุดสีจากภาพ
สามารถสร้างชุดสีจากภาพถ่ายได้ โดยเลือกที่ Extra Theme จากนั้น Import รูปภาพที่ต้องการ ที่จะนำมาใช้เป็นชุดสี ทางเว็บไซต์จะคำนวณและเลือกสีจากภาพที่ Import เข้ามา นอกจากนี้ยังสามารถเลือก Color Mood เช่น อยากได้โทนเข้ม หรือสว่างกว่าเดิม จากเมนูทางซ้ายมือได้อีกด้วย
ภาพประกอบ (illustration)
ภาพประกอบ (illustration) เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวหรือถ่ายทอดเหตุการณ์ต่าง ๆ
ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับเรื่องราวนั้น ๆ และให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งภาพประกอบเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) ภาพกราฟิกหรือภาพประกอบที่มักเลือกใช้ในการออกแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) มี ดังนี้
1. ภาพไอคอน
2. ภาพการ์ตูน
3. ภาพสัญลักษณ์ หรือพิกโตแกรม
4. ภาพกราฟิกทั่วไป
5. ภาพถ่าย
6. รูปทรงทางเรขาคณิต
7. เส้นและลูกศร
8. ชาร์ตและไดอะแกรม
9. แผนที่
10. กราฟิกอื่น ๆ
การเลือกใช้ภาพในงาน Infographic
1. ภาพไอคอน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการออกแบบอินโฟกราฟิกการเลือกภาพไอคอนมาใช้ต้องพยายามให้สอดคล้องกับเนื้อความส่วนนั้น ๆ
2. ภาพการ์ตูน ตัวการ์ตูนที่มีสีสันมักถูกนำมาใช้ในการออกแบบอินโฟกราฟิกเพราะช่วยดึงดูดความสนใจและช่วยให้อินโฟกราฟิกนั้น ๆ ดูเป็นมิตรมากขึ้น
3. ภาพสัญลักษณ์ หรือพิกโตแกรม คือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งและมีขนาดใหญ่กว่าภาพไอคอน เช่น ภาพสัญลักษณ์ หญิง-ชายหน้าห้องน้ำ
4. ภาพกราฟิกทั่วไป ภาพกราฟิกของสิ่งของต่าง ๆ รวมไปถึงคนและสัตว์ที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ก็ถูกนำมาใช้บ่อยในอินโฟกราฟิก
5. ภาพถ่าย อาจดูเป็นส่วนประกอบที่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ออกแบบอินโฟกราฟิกมากนักแต่ในบาง กรณีการนำภาพถ่ายมาใช้ก็ช่วยให้อินโฟกราฟิกดูน่าสนใจและน่าเชื่อถือมากขึ้นได้
6. รูปทรงทางเรขาคณิต ทั้งวงกลมวงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือหลายเหลี่ยมรูปทรงอิสระ เป็นต้น ก็มักเป็นองค์ประกอบที่พบได้บ่อย ๆ ในอินโฟกราฟิก
7. เส้นและลูกศร เส้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นทึบ เส้นประ เส้นไข่ปลา เส้นอื่น ๆ และลูกศร หลากหลายรูปร่างหน้าตา มักถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอินโฟกราฟิกเพื่อแสดงความเชื่อมโยงหรือต่อเนื่องของข้อมูล
8. ชาร์ตและไดอะแกรม มักถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของอินโฟกราฟิกอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งชาร์ตและไดอะแกรมก็มีหลาย รูปแบบแยกย่อย
9. แผนที่ อินโฟกราฟิกซึ่งมักจะมีแผนที่เป็นส่วนประกอบ คืออินโฟกราฟิกเชิงภูมิศาสตร์ โดยแผนที่ ในอินโฟกราฟิกจะใช้ประกอบ หรืออธิบายข้อมูลในอินโฟกราฟิก
10. กราฟิกอื่น ๆ ยังมีอินโฟกราฟิกรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอินโฟกราฟิกได้ตามไอเดีย เช่น ตารางปฏิทิน เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์หรืออื่น ๆ
ปัจจุบัน มีเว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดภาพประกอบ ที่สามารถนำมาใช้งานได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่อาจจะมีเงื่อนไขตามที่เว็บไซต์กำหนด เช่น
ฟ้อนต์ (FONT)
Typeface คือชุดรูปแบบตัวอักษร โดยการออกแบบ Typeface อาจจะมีฟ้อนต์ (FONT) แค่รูปแบบเดียว หรือมีฟ้อนต์ (FONT) หลายรูปแบบก็ได้
ฟ้อนต์ (FONT) คือ ชุดของตัวอักษรที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านของขนาด ความหนา ความกว้าง และความเอียง ซึ่งฟ้อนต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอินโฟกราฟิก (Infographic) การเลือกใช้ฟ้อนต์ (FONT) ที่เหมาะสม จะสามารถดึงดูดสายตาของกลุ่มเป้าหมายได้ดี และทำให้เกิดการจดจำได้ง่ายขึ้น และยังบ่งบอกได้ถึงแนวคิดในอินโฟกราฟิก (Infographic) ที่ต้องการจะนำเสนอ
การเลือกใช้ฟ้อนต์
ฟ้อนต์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอินโฟกราฟิก (Infographic) การเลือกใช้ฟ้อนต์ (FONT) ที่เหมาะสม จะสามารถดึงดูดสายตาของกลุ่มเป้าหมายได้ดี และทำให้เกิดการจดจำได้ง่ายขึ้น และยังบ่งบอกได้ถึงแนวคิดในอินโฟกราฟิก (Infographic) ที่ต้องการจะนำเสนอ
1. การเลือกใช้ฟอนต์ Serif หรือ Sans Serif
Serif จะมีขีดเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าเชิงที่ปลายตัวอักษร ฟอนต์ประเภทนี้เป็นฟอนต์ดั้งเดิม นิยมใช้สำหรับพิมพ์เนื้อความ เพราะมีส่วนช่วยทำให้อ่านได้ง่ายขึ้น เมื่อกวาดสายตาไปตามเนื้อหาการใช้ฟอนต์นี้จะทำให้งานดูคลาสสิคมากขึ้น และนิยมใช้กับงานที่เป็นทางการ
Sans Serif จะตรงข้ามกับ ฟอนต์ Serif คือไม่มีเชิง เป็นตัวอักษรเรียบ ๆ เหมาะกับการใช้ในส่วนของหัวข้อฟอนต์สไตล์นี้จะทำให้งานดูทันสมัยขึ้น เพราะความเรียบง่ายของรูปแบบฟอนต์
2. ฟอนต์ภาษาไทยมีหัว และไม่มีหัว
ในภาษาไทยตัวอักษรจะมีหัว แต่มีการพัฒนารูปแบบฟอนต์ภาษาไทยให้มีทั้งแบบมีหัวและไม่มีหัวเพื่อให้งานออกแบบสื่อความหมายได้หลากหลายขึ้น
ฟอนต์มีหัว แสดงความเป็นทางการคล้ายๆ กับ Serif ของภาษาอังกฤษ และทำให้อ่านง่าย ไม่สับสนในเรื่องของพยัญชนะ
ฟอนต์ไม่มีหัว เป็นตัวอักษรที่ให้ความรู้สึกถึงความทันสมัย ซึ่งจะเหมือนกับฟอนต์แบบ San Serif ของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ นิยมใช้ตัวอักษรนี้กับงานที่ดูร่วมสมัยและเป็นสากล
3. ฟอนต์แบบปลายหวัด (Script)
รูปแบบของฟอนต์ประเภทนี้ทำให้งานนำเสนอดูเคลื่อนไหว ดูมีชีวิตชีวา อ่อนช้อยและดึงดูดสายตาคนได้ จะนิยมใช้ในงานที่สื่อถึงความสวยงาม อ่อนหวาน หรูหราแต่จะใช้ในส่วนหัวข้อ หรือส่วนที่เป็นจุดเด่นของงานที่ต้องการเน้น ไม่เหมาะที่จะใช้ในส่วนที่เป็นเนื้อความ
4. ฟอนต์ลายมือ
ฟอนต์ประเภทนี้จะเป็นฟอนต์ที่ดูไม่เป็นทางการ ใช้กับงานนำเสนอที่ต้องการให้มีความเป็นกันเอง
5. การผสมผสานฟอนต์
ในงานนำเสนอหนึ่งงาน ไม่ควรจะใช้ฟอนต์ให้หลากหลายจนเกินไปเพราะจะทำให้งานดูไม่มี Concept ดูกระจัดกระจาย แต่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถผสมผสานฟอนต์ได้ เพียงแต่ว่าควรเลือกผสมให้เหมาะสมนั่นเอง ควรเลือกที่อ่านง่าย ชัดเจน ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น
จากภาพตัวอย่างจะใช้ฟอนต์ประมาณ 3 ฟอนต์ เพื่อเพิ่มลูกเล่น ให้งานน่าสนใจ
และเน้นบางจุด ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว ฟอนต์ทั้งหมดที่ผสมผสานกันก็ยังคงให้ความรู้สึกเรียบง่าย แต่ทันสมัย