หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic)
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic)
🎨DRAFT
Draft Infographic คือ อินโฟกราฟิก (Infographic) ฉบับร่าง เป็นการลำดับเรื่องราว กำหนด Layout รูปแบบการจัดวางข้อความ รวมไปถึงการกำหนดว่าจะให้มีไอคอนอะไร มีรูปอะไรวางลงไปในงานบ้าง ซึ่งการ Draft จะมีทั้งแบบวาดมือ หรือการใช้โปรแกรมเพื่อช่วยในการ Draft
ขั้นตอนในการ Draft Infographic ประกอบด้วย
1. กำหนด Layout
2. กำหนดขนาด และรูปแบบฟ้อนต์ (Font)
3. วาดโครงร่างของภาพ
4. กำกับข้อความ อธิบายสิ่งที่ต้องการ
กล่าวโดยสรุป คือ Draft Infographic คือ อินโฟกราฟิก (Infographic) ฉบับร่าง ซึ่งจะมีการลดทอนรายละเอียด ไม่ได้เน้นการวาดเสมือนจริง หรือการลงสี เป็นการลำดับเรื่องราว กำหนด Layout รูปแบบการจัดวางข้อความ รวมไปถึงการกำหนดว่าจะให้มีไอคอนอะไร มีรูปอะไรวางลงไปในงานบ้าง ซึ่งการ Draft จะมีทั้งแบบวาดมือ หรือการใช้โปรแกรมเพื่อช่วยในการ Draft
ตัวอย่าง การ Draft Infographic หัวข้อ Work Focus Infographic
ขั้นตอนในการ Draft Infographic
ขั้นตอนในการ Draft Infographic ประกอบด้วย
1. กำหนด Layout : เลือก Layout ที่เหมาะสมกับเนื้อหา
ตัวอย่าง การกำหนด Layout แบบ Timeline Layout
2. กำหนดขนาด และรูปแบบของตัวอักษร : ต้องกำหนดขนาด และรูปแบบของตัวอักษรให้ชัดเจน ยิ่งตัวใหญ่ สายตาของคนอ่านก็จะเห็นตรงส่วนนั้น ๆ ได้ก่อน เช่น เลขและหัวข้อแต่ละข้อ จะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหา เพื่อเป็นตัวกำหนดการเล่าเรื่อง
3. วาดโครงร่างของภาพ : วาดโครงร่างของภาพที่ต้องการใช้เป็นภาพประกอบ โดยไม่ต้องลงรายละเอียดของภาพ เพียงแค่วาดภาพเพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจได้ว่า คือภาพของอะไร ภาพของใคร และกำลังทำอะไรอยู่
ตัวอย่าง วาดโคร่างภาพของ สตีป จ็อบส์ กำลัง CHECK LIST SHOULD BE DO
4. กำกับข้อความ อธิบายสิ่งที่ต้องการ : หากมีส่วนของไอคอนต่าง ๆ จะวาดเป็นวงกลม หรือ สี่เหลี่ยม และเขียนข้อความกำกับไว้ด้านในว่าต้องการไอคอนลักษณะไหน
ตัวอย่าง การกำกับข้อความและการอธิบายสิ่งที่ต้องการ
ในขั้นตอนการ Draft Infographic สามารถใส่ไอเดียเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้อย่างเต็มที่ และควรพิจารณาชิ้นงานอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะนำไปออกแบบในขั้นตอนต่อไป ซึ่ง ควรพิจารณาทั้งในด้านของข้อมูล และการออกแบบ
• ด้านของข้อมูล (Content/Information) การเลือกข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำอินโฟกราฟิก จะต้องคำถึงประเด็นที่สำคัญต่อไปนี้
1. Useful: ต้องเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ และเปลี่ยนชีวิตคนไปในทางที่ดีขึ้น
2. Insightful: ต้องมีคุณภาพ เนื้อหาต้องแน่น รู้ลึกและรู้จริง
3. Interesting: ต้องสดใหม่ ทันกระแส และมีความแปลกใหม่
4. Reliable: ข้อมูลนั้น ๆ ต้องมีความน่าเชื่อถือมีที่มาที่ไป มีแหล่งอ้างอิงชัดเจน
• ด้านการออกแบบ (Design/Graphic) การออกแบบต้องมีรูปแบบ แบบแผน โครงสร้าง หน้าที่การทำงาน และความสวยงาม โดยออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และใช้ได้จริง
สรุป การ Draft Infographic ช่วยให้สามารถออกแบบอินโฟกราฟิกได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเมื่อวาดโครงร่าง จะเห็นข้อบกพร่องของชิ้นงาน และสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ เป็นการตรวจสอบภาพรวมทั้งหมดก่อนออกแบบจริง
เครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิกแบบออนไลน์
เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) แบบออนไลน์ คือ เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน ที่สามารถออกแบบและแก้ไขงานได้จากคอมพิวเตอร์ Tablet หรือแม้แต่ Smartphone ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น
2. www.easel.ly
เป็นต้น
การใช้เครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) แบบออนไลน์ มีข้อดี คือ สามารถทำงานร่วมกันแบบ Real-time ได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ซึ่งในทางเดียวกัน ข้อจำกัดของการใช้เครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) แบบออนไลน์ ก็คือ อินเทอร์เน็ต เพราะหากไม่มีอินเทอร์เน็ต เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานอินโฟกราฟิก(Infographic) แบบออนไลน์ ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ทันที
เครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิกแบบออฟไลน์
เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) แบบออฟไลน์ คือ โปรแกรม หรือแอปพลิเคชัน ที่ต้องติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ Tablet หรือ Smartphone ก่อน ถึงจะใช้งานได้ เช่น
1. โปรแกรม Photoshop
2. โปรแกรม illustrator
3. โปรแกรม PowerPoint
4. แอปพลิเคชัน Procreate
5. แอปพลิเคชัน ibispaint x
เป็นต้น
Offline เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาโดยให้ตัวโปรแกรมและข้อมูลในการใช้งานต่าง ๆ ถูกเก็บอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้งาน โดยเน้นการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ไม่มีการเข้าใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือสามารถเข้าใช้งานได้เพียงบางฟังก์ชันที่ถูกจำกัดไว้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถใช้งานร่วมกันแบบ Real-Time เหมือนกับการใช้เครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) แบบออนไลน์
สรุป การใช้งานเครื่องมือในการสร้างงานอินโฟกราฟิก (Infographic) ทั้งแบบแบบออฟไลน์ (Offline) และแบบออนไลน์ (Online) ต่างมีข้อดี และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป นักเรียนสามารถพิจารณา และเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม