หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
รู้จักกับ Google Sites
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
รู้จักกับ Google Sites
Google Sites คือ โปรแกรมของ Google ที่ให้บริการสร้างเว็บไซต์ฟรี สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่าย ปรับแต่งรูปลักษณ์ได้อย่างอิสระ และสามารถรวบรวมความหลากหลายของข้อมูลไว้ในที่เดียว เช่น วิดีโอ, ปฏิทิน, เอกสาร อื่นๆ สามารถนำมาแทรกในหน้าเว็บเพจได้ เป็นการเพิ่มลูกเล่น ใช้งานได้ง่าย ทำให้ช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก
ขั้นตอนการสร้าง Google Sites
วางแผนการจัดทำเว็บไซต์
การสมัครเข้าใช้งาน Google
การเตรียมข้อมูลและเตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
การเลือกใช้บริการ Google Sites
การสร้างและใส่ข้อมูลเว็บไซต์
การเผยแพร่เว็บไซต์
1. วางแผนการจัดทำเว็บไซต์
วางแผนการจัดทำเว็บไซต์ โดยการเขียนแสดงแผนผังโครงสร้างทั้งหมดของเว็บไซต์
2.การสมัครเข้าใช้งาน Google
การสมัครเข้าใช้งาน Google โดยเตรียมข้อมูลส่วนตัว และหมายเลขโทรศัพท์ ในการสมัคร
3. การเตรียมข้อมูลและเตรียมพื้นที่ในการเก็บข้อมูล
เตรียมข้อมูลต่างๆที่ต้องการนำมาสร้างเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา รูปภาพ Banner สร้าง Folder ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ใน Google Drive
4. การเลือกใช้บริการ Google Sites ได้ 2 วิธี
เข้าผ่าน URL https://sites.google.com/new/
เข้าผ่าน Google Drive เมนู New>More>Google Sites
สรุปว่า การสร้างเว็บด้วย Google Sites ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาเขียนเว็บ สามารถนำสื่อต่าง ๆ มาจัดวางให้สวยงาม เช่น เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ แผนที่ และอื่น ๆ โดยจะดูจัดเก็บอยู่บนเทคโนโลยีคลาวด์ของ Google เพียงมีบัญชี Google ก็สามารถลงชื่อเข้าใช้งานได้ทันที
ส่วนประกอบหน้าต่างของ Google Sites
หน้าต่างของ Google Sites ประกอบด้วย
1. หน้าแรกของไซต์ ใช้กลับหน้าหลักของ Google Sites
2. ชื่อเอกสารของไซต์ ใช้กำหนดชื่อไฟล์เว็บไซต์
3. แถบคำสั่ง ใช้ควบคุมการทำงานของเว็บไซต์
4. เผยแพร่ ใช้เผยแพร่เว็บไซต์
5. พื้นที่การทำงาน ใช้จัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์
6. กลุ่มพาเนล ใช้แทรกวัตถุ หน้าเว็บ และเลือกธีม
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการหน้าเว็บไซต์
เมนู “แทรก” เป็นเมนูที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้มีเดีย บนเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มกล่องข้อความ การเพิ่มรูปภาพ การเพิ่มเนื้อหาจากเว็บโดยตรง เช่น เพลง และวิดีโอ การฝังไฟล์จากไดรฟ์ รวมถึง การเพิ่ม Layout ในหน้าเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่น ๆ
การใช้งานเครื่องมือ ในเมนู แทรก ดังนี้
การเพิ่มเนื้อหน้าลงบนเว็บไซต์ นอกจากการ ใช้เมนู “แทรก” เลือกเนื้อหาที่ต้องการเพิ่ม ยังสามารถ ดับเบิ้ลคลิกหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการเพิ่มเนื้อหา จะปรากฏไอคอนที่รวมคำสั่งลัดเอาไว้
สรุป เมนู “แทรก” เป็นเมนูที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้มีเดีย บนเว็บไซต์ เช่น การเพิ่มกล่องข้อความ การเพิ่มรูปภาพ การเพิ่มเนื้อหาจากเว็บโดยตรง เช่น เพลง และวิดีโอ การฝังไฟล์จากไดรฟ์ รวมถึง การเพิ่ม Layout ในหน้าเว็บไซต์ และเครื่องมืออื่น ๆ และยังสามารถเพิ่มเนื้อหาลงบนเว็บไซต์ โดยการดับเบิ้ลคลิกหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการเพิ่มเนื้อหา